ได้มีการนำองค์ความรู้ทาง ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) หรือองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของสมอง กับการทำการตลาด (Marketing) มารวมกันเป็นศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า Neuromarketing ในการช่วยตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ไปเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางการตลาด และทำให้ยอดขายสินค้า-บริการเพิ่มสูงขึ้นได้
หากอยากทำเข้าทำความเข้าใจว่ากลยุทธ์ Neuromarketing คืออะไร และเราสามารถนำมาประยุกต์กับการทำธุรกิจของคุณได้ยังไง บทความนี้จะบอกวิธีที่คุณต้องรู้
Neuromarketing คืออะไร
เมื่อนำสองคำนี้ Neuro และ Marketing มารวมกันจะได้ความหมายว่า Neuromarketing คือ การผสมผสานการตลาดกับประสาทวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองเพื่อทำความเข้าใจผู้บริโภค ที่เข้าถึงพฤติกรรมจิตใต้สำนึก กระบวนการคิด หรือปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าและการตัดสินใจต่างๆ ของมนุษย์กับกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพของแอดโฆษณา แบรนด์ ดีไซน์สินค้า รวมถึงแคมเปญการตลาดต่าง ๆ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ Neuromarketing กับธุรกิจ
องค์ความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์ จะได้จากการทดลองหรือการวิจัยต่าง ๆ โดยในทางปฏิบัติแล้ว Neuro-marketing สามารถประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจหรือการตลาดได้ ในแง่มุมต่อไปนี้
1. การทำเว็บไซต์
เว็บไซต์ร้อยทั้งร้อยต้องมี Layout แนวตั้ง แต่เว็บไซต์บางเว็บก็มี Layout แนวนอน
ถามว่าระหว่างแนวตั้งกับแนวนอน แบบไหนทำแล้วมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน? ขอตอบสั้น ๆ เลยว่า แนวตั้งดีกว่า เพราะจากข้อมูลทางประสาทวิทยาศาสตร์ โดยนำ Neuromarketing มาใช้ แสดงให้เห็นว่า Layout แนวตั้ง มีส่วนกระตุ้นให้คนอยากเลื่อนดูเว็บมากกว่า Layout แนวนอน (โดยเฉพาะเมื่อเปิดดูผ่านมือถือ) โดยเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน User Experience ทั้งหลายเห็นด้วย
2. การเลือกใช้สี
สีสัมพันธ์กับมุมมอง ความรู้สึก รวมถึงการตัดสินใจซื้อ-ไม่ซื้อของผู้บริโภค
ข้อมูลจากงานวิจัยบอกว่า “สี” มีผลต่อการซื้อถึง 90% ซึ่งสีแดงยังมีส่วนถึง 94% และยังมีส่วนช่วยให้คนทั่วโลกจดจำแบรนด์ Coca Cola ได้
นอกจากนี้ Neil Patel (ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์) ยังแนะนำว่าปุ่ม Call to Action ของเว็บไซต์ควรเป็นสีส้มหรือสีเหลือง เพราะความสดใสโดดเด่น ทำให้ยากจะโดนมองข้ามหรือเลื่อนผ่าน จึงมีแนวโน้มจะถูกคลิกมากกว่าสีอื่น การเลือกใช้สีนั้นจึงสำคัญ และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการเพิ่มยอดขาย สามารถอ่านรายละเอียด ความหมายของสี ต่างๆได้ที่นี้
3. การเขียน Headline
นอกจากความคิดสร้างสรรค์ของคอนเทนต์ครีเอเตอร์แล้ว การประยุกต์ใช้ Neuro-marketing ยังมีส่วนทำให้ Headline ของคอนเทนต์น่าคลิก-น่าสนใจยิ่งขึ้น
ผลการศึกษาของ University of College London พบว่า Headline ซึ่งดัดแปลงจากสำนวนที่คนคุ้นหู มีส่วนทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกแปลกใจ และอยากคลิกอ่านคอนเทนต์นั้น ๆ มากกว่า Headline แบบอื่น
4. Anchoring
Anchoring หรือ Anchoring Effect คือการเชื่อข้อมูลตรงหน้า แทนที่จะศึกษาข้อมูลแวดล้อมให้ถี่ถ้วน
ในแง่ของการตลาด นักการตลาดสามารถใช้ประโยชน์จาก Anchoring Effect ได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการขายของต้นทุนต่ำในร้านหรู เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าของถูกมีมูลค่าสูงทั้งที่ความจริงไม่ใช่
อีกทั้ง การทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าบางอย่างมีราคาถูก ด้วยการขายสินค้านั้นใกล้กับสินค้าราคาแพงกว่า ยังเป็นอีกวิธีการใช้ประโยชน์จาก Anchoring
5. การใช้ประโยชน์จากสายตา
หลายคนอาจไม่รู้ว่า เมื่อเรามองโฆษณาออนไลน์ ที่มีรูปคนหรือสัตว์ เรามักมองตามสิ่งที่คนหรือสัตว์ในโฆษณา กำลังมองอยู่โดยไม่รู้ตัว
และถ้าคุณต้องการให้ผู้บริโภคโฟกัสสินค้าหรือส่วนสำคัญ ๆ ใน การโฆษณาออนไลน์ ของคุณ คุณก็แค่ออกแบบ รูปโปรโมทสินค้า ให้มีคนหรือสัตว์ในแอดโฆษณา ให้มองไปยังสินค้าหรือส่วนสำคัญดังกล่าว
การจะเข้าใจการทำงานของสมอง เป็นเรื่องที่ดูค่อนข้างยาก อ่านแล้วงง แต่ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงเห็นว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวขนาดนั้น และเอาเข้าจริง หลายคนก็น่าจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ มาก่อนแล้ว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
โดย THE TEPCO ได้ความสำคัญ Neuromarketing จึงเลือกนำความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบภาพกราฟิก รวมถึงการคิดแคมเปญต่าง ๆ ให้กับลูกค้าของเรา โดยเราเชื่อว่า การทำการตลาดโดยอาศัยความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้โฆษณาออนไลน์ของลูกค้ามีความน่าสนใจมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโฆษณาเพื่อให้ต้นทุนต่ำลง และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น