ในยุคดิจิทัล การดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือ ช่องทางออนไลน์ของแบรนด์ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ CTA ที่กระตุ้นให้ผู้ใช้ดำเนินการตามที่เราต้องการ เพื่อให้เราสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ จนอาจนำไปสู่การเป็นลูกค้าของเรา ทำให้ขายสินค้าและบริการได้
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักการตลาด เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สร้างเนื้อหา หากต้องการเพิ่มรายได้และยอดขายสินค้า / บริการ บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ CTA คืออะไร ให้คุณเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดได้
CTA คืออะไร
CTA ย่อมาจาก “Call to Action” คือ คำกระตุ้นการตัดสินใจ ต่าง ๆ ซึ่งพบได้บ่อยตามเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน และโดยทั่วไปมักอยู่ในรูปของข้อความ ภาพ หรือปุ่ม
เอาไว้ใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าชมดำเนินการตามที่ต้องการ เช่น ซื้อสินค้า สมัครสมาชิก ดาวน์โหลดเอกสาร หรือติดตามข่าวสาร
สำหรับ Call to action ตัวอย่าง ที่เราพบเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ก็อย่างเช่น
- ลงทะเบียน
- ทดลองใช้ฟรี
- คลิกเลย
- คลิกรับส่วนลด
- อ่านเพิ่มเติม
- ทดลองใช้ฟรี
- ดาวน์โหลด
- พูดคุยกับเรา
จะเห็นว่า Call to action มีอยู่หลายรูปแบบ เพื่อรองรับผลลัพธ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ออกแบบเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นต้องการให้เกิดขึ้น แถมการใช้ คำกระตุ้นการตัดสินใจ ยังช่วยกระตุ้นยอดขายได้อีกด้วย
Call to action ช่วยเพิ่มรายได้อย่างไร
Call to action นั้นถูกใช้อย่างแพร่หลาย แน่นอนว่ามีเหตุผลหลายข้อที่อธิบายได้ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น และหนึ่งในนั้นคือมันช่วยเพิ่มยอดขายได้นั่นเอง ตัวอย่างการใช้งาน เช่น
- คำว่า “อ่านเพิ่มเติม” หรือ “เรียนรู้เพิ่ม” มีส่วนช่วยทำให้ผู้บริโภคอยากรู้จักแบรนด์ สินค้า หรือบริการมากขึ้น และอาจอยากซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง
- ส่วนคำว่า “หยิบใส่ตะกร้า” “ช็อปเลย” “ซื้อสินค้า” หรือ “เพิ่มไปยังรถเข็น” ก็ช่วยเพิ่มยอดขายหรือรายได้ทาง เซลเพจ ได้
ถ้าไม่มี CTA จะเป็นอย่างไร
CTA เป็นเหมือนป้ายบอกทางที่บอกให้ผู้ใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน รู้ว่าตัวเองต้องกดตรงไหนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ในทางกลับกัน หากไม่มี ผู้ใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะไม่แน่ใจว่าตัวเองควรคลิกตรงไหน และจะออกจากเว็บไซต์หรือเลือกเข้าเว็บไซต์อื่นแทนในที่สุด
แน่นอนว่า ในบริบทของ การขายของออนไลน์ การออกจากเว็บไซต์โดยไม่ซื้ออะไร หมายถึงโอกาสทำเงินที่เสียไป
Call-to-action ที่ได้ผลนั้น ควรมีลักษณะอย่างไร
CTA ต้องน่าดึงดูดหรือชวนให้กดทันทีเมื่อเลื่อนเห็น
โดยก่อนทำ ขั้นแรกสุดเลยต้องกำหนดเป้าหมายของ Call-to-action เป็นอย่างแรก เช่นเพื่อเพิ่มรายได้ หรือพาผู้ใช้เว็บไซต์หรือแอปไปยังหน้าอื่น และหลังจากได้เป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จึงค่อยเริ่มทำ
โดยปกติแล้วที่ได้ผล จะมีลักษณะตามนี้
1. สั้น กระชับ
ที่ใช้แล้วได้ผล มักสั้นและกระชับ กล่าวคือประกอบด้วยคำไม่เกิน 2-5 คำ และสื่อสารให้ผู้เห็นเข้าใจได้ง่าย ตรงไปตรงมา
สำหรับตัวอย่างของ คำกระตุ้นการตัดสินใจ ที่สั้นและกระชับ ประกอบด้วย สั่งซื้อเลย ติดตาม และอ่านเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ความสั้นของคำ ยังเป็นประโยชน์ต่อการดีไซน์เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
2. เห็นภาพของการกระทำอย่างชัดเจน
CTA ที่ได้ผล ควรประกอบด้วยคำหรือข้อความ ที่บอกอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ผู้พบเห็นทำอะไร เช่น คลิก ซื้อ สั่ง ดู หยิบ หรือจ่าย
3. ให้ความรู้สึกเร่งด่วน
คำที่ได้ผลควรให้ความรู้สึกเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอยากคลิกในทันที
4. มีจำนวนจำกัด
ในหนึ่งหน้า ไม่ควรมี CTA มากเกินไป หรือสูงสุดไม่เกิน 2 จุด
5. โดดเด่นและดึงดูดสายตา
คำที่ได้ผล ต้องโดดเด่นด้วยดีไซน์ หรือมีสีที่ไม่กลืนไปกับส่วนอื่น ๆ หรือพื้นหลังของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
นอกจากนี้ ตำแหน่งของคำกระตุ้นการตัดสินใจเองก็สำคัญ เพราะหากอยู่ในบทความที่กำลังถูกอ่าน หรือไม่โดนล้อมด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มจะถูกเห็นหรือคลิกได้ง่าย