สงสัยมั้ยว่า Landing Page กับ Sale Page ต่างกันยังไง? ทำไมธุรกิจถึงต้องมี Landing Page? บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจให้คุณเข้าใจถึงความแตกต่างและความสำคัญของทั้งสองอย่าง เพื่อให้คุณนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไป ลิงก์ของแลนดิ้งเพจ จะถูกผูกไว้กับช่องทางทำการตลาดต่าง ๆ ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Homepage ของเว็บไซต์ โพสต์ทางโซเชียลมีเดีย อีเมล หรือแม้แต่แอดโฆษณา เพื่อทำให้มีคนเข้าถึงแลนดิ้งเพจมากที่สุด
Landing page คืออะไร
แลนดิ้งเพจ (Landing Page) คือ หน้าเว็บไซต์ที่ถูกซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นนำเสนอข้อมูล โปรโมตสินค้า-บริการ และรวบรวมข้อมูลลูกค้า ผ่านการให้กรอกข้อมูลแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
ทำไมต้องทำ Landing page
เมื่อทำการตลาดออนไลน์ ผ่านการทำ Landing page จะส่งผลดีต่อแบรนด์ดังนี้
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ แลนดิ้งเพจที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ สินค้า หรือบริการ นอกจากนี้ ผู้ออกแบบยังสามารถใส่ข้อความรับรอง (Testimonial) เข้าไปในแลนดิ้งเพจ เพื่อทำให้สิ่งที่กำลังนำเสนอดูน่าเชื่อถือในสายตาผู้เยี่ยมชมยิ่งขึ้น
- ทำให้แบรนด์แข็งแกร่งขึ้น องค์ประกอบต่าง ๆ ในแลนดิ้งเพจ ช่วยส่งเสริมอัตลักษณ์ของแบรนด์ในสายตาผู้เยี่ยมชม และอาจทำให้เขาหรือเธอจดจำแบรนด์ของคุณได้ง่ายขึ้น
- ดึงดูดข้อมูลเพื่อทำการตลาด เบอร์ติดต่อหรืออีเมลของผู้บริโภค ซึ่งแบรนด์ได้จากการทำแคมเปญผ่าน แลนดิ้งเพจ สามารถใช้ติดต่อกลับเพื่อขายสินค้าหรือบริการได้ ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลที่กรอกในแลนดิ้งเพจยังนำไปวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดได้อีกด้วย
- เพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ แบรนด์สามารถเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ได้ ด้วยการทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก แล้วใช้แลนดิ้งเพจดึงผู้บริโภคที่สนใจแบรนด์ เข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์หลัก
แลนดิ้งเพจ คุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร
คุณควรออกแบบ แลนดิ้งเพจ ให้มีลักษณะตามนี้ หากอยากให้แลนดิ้งเพจมีคนเข้าถึงเยอะ และสามารถรวบ Lead ได้เป็นจำนวนมาก
- ใช้ Headline น่าสนใจ มีคำว่า “ฟรี” หรือ “ตอนนี้” เพื่อกระตุ้นให้คนอยากคลิก
- ออกแบบคอนเทนต์ข้างในให้น่าสนใจ เพื่อให้คนอยากแชร์
- คอนเทนต์ที่เลือกใช้ สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย หรือคนที่อยากให้กดเข้ามาในแลนดิ้งเพจ
- ทำ SEO ด้วยการแทรก Long Tail Keyword (Keyword ขนาดยาวในคอนเทนต์)
- มี Testimonial หรือรีวิวจากผู้บริโภค
- วางปุ่มกระตุ้นการตัดสินใจ (หรือ Call to Action/CTA) ไว้มากกว่า 1 จุด
- ปรับปรุงแลนดิ้งเพจให้โหลดไว
- ให้เบอร์ติดต่อหรืออีเมล สำหรับคนที่อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ชนิดของ Landing Page
แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ แบบ Lead generation และ Click-through โดยแต่ละอย่าง มีรายละเอียด ดังนี้
1. Lead generation
Lead generation บางครั้งเรียกว่า Lead Gen หรือ Led Capture Page เป็นแลนดิ้งเพจ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อรวบรวมลีด (Lead) หรือข้อมูลของลูกค้าสำหรับทำการตลาด
โดยทั่วไป เมื่อกดเข้าไปใน Lead generation ผู้เยี่ยมชมจะเจอกับแบบฟอร์มสำหรับใส่ข้อมูลจำพวกชื่อ ที่อยู่ อีเมล และเบอร์ติดต่อ
2. Click-through
แบบ Click-through ที่เมื่อกดเข้าไปแล้วจะไม่เจอแบบฟอร์มให้กรอก แต่เจอข้อความที่ไม่ยาวมาก (บางครั้งอาจยาวแบบเต็มหน้าจอ) ซึ่งเชิญชวนผู้พบเห็นใช้สินค้าหรือบริการบางอย่าง กับปุ่ม CTA ซึ่งเมื่อกดเข้าไปแล้วจะนำไปสู่กระบวนการเพื่อให้ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ
โดยทั่วไป เพจแบบนี้จะพบได้เมื่อใช้เว็บไซต์ E-commerce หรือเว็บไซต์ที่เน้นไปการขายสินค้า-บริการหรือการทำการตลาด
Sale Page แตกต่างกับ Landing page อย่างไร?
Landing Page กับ Sale Page เป็นหน้าเว็บเดี่ยวเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงวัตถุประสงค์ คือ แลนดิ้งเพจจะทำขึ้นด้วยจุดประสงค์ที่หลากหลาย ทั้งรวบรวมข้อมูล นำเสนอสิทธิพิเศษ และรับสมัครคนเข้าร่วมอีเว้นต์ ตรงกันข้าม Sale Page จะทำขึ้นด้วยจุดประสงค์เดียว คือกระตุ้นยอดขายหรือบริการ
Landing Page ต่างกับ Home Page อย่างไร?
ข้อแตกต่างระหว่าง โฮมเพจ กับ แลนดิ้งเพจ สามารถสรุปได้ตามนี้
- จำนวนลิงก์ Home Page มีลิงก์อย่างน้อย 10 ลิงก์ ส่วนแลนดิ้งเพจมีลิงก์เพียง 2-3 ลิงค์เท่านั้น
- จำนวน CTA Home Page เป็นเหมือนจุดรองรับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ดังนั้น จึงมีปุ่ม Call to Action เป็นจำนวนมาก เพื่อพาผู้เยี่ยมชมไปยังหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์ กลับกัน แลนดิ้งเพจ ถูกทำขึ้นด้วยเป้าหมายเฉพาะแค่เป้าหมายเดียว จึงมีปุ่ม Call to Action ไม่มากนัก หรือเพียงปุ่มเดียวเท่านั้น
- จุดประสงค์ของผู้เยี่ยมชม ผู้เยี่ยมชม Home Page มักกดเข้ามาโดยไม่มีเป้าหมายใดเป็นพิเศษ ตรงกันข้ามกับแลนดิ้งเพจซึ่งผู้เยี่ยมชมกดเข้ามาเพราะสนใจแบรนด์ สินค้า หรือบริการ