5 AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ นอกจาก ChatGPT ล่าสุดปี 2023

5 ai writer ช่วยเขียนบทความ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ทุกวันนี้ AI ไม่ใช่ของไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะในการเขียนคอนเทนต์ บทความ และถ้าพูดถึง AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ หรือ AI writer เจ้าดังอย่าง ChatGPT ก็น่าจะเป็นตัวที่คนรู้จักกันมากที่สุด

ถึงอย่างนั้น ChatGPT ก็ไม่ใช่ โปรแกรม AI ตัวเดียวในท้องตลาด ยังมี AI ตัวอื่น ๆ ก็อย่างเช่น Copy.ai, Anyword หรือ Rytr ซึ่งแต่ละตัวก็มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันไป บทความนี้จะแนะนำ 5 Ai writer

AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ บทความ ปี 2023

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI รวมถึงการแข่งขันทำ Content Marketing อย่างหนักหน่วง ทำให้ โปรแกรม AI Content writer ในไทยและต่างประเทศ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ยังไงก็ตาม โปรแกรม Ai ช่วยเขียนบทความ นั้นมีอยู่มากมาย บางคนอาจไม่รู้ว่าจะใช้ตัวไหนดี วันนี้ เราจึงอยากจะแนะนำ AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ หรือ Ai ช่วยเขียนบทความ ฟรี (ที่ไม่ใช่ Chat GPT) กับ 5 AI writer ซึ่งใช้งานไม่ยาก แถมมีฟังก์ชันที่ครอบจักรวาล

Copy.ai Ai ช่วยเขียนบทความ

1. Copy.ai

Copy.ai เป็นเว็บแอปพลิเคชันซึ่งใช้งานฟรี (แต่ถ้าอยากใช้แบบเต็มรูปแบบก็ต้องเสียเงินนะจ๊ะ) และมีฟังก์ชันหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือการพิมพ์ข้อความ (Prompt) เพื่อบอกให้ โปรแกรม AI ช่วยเขียนบทความ หรือคิดคอนเทนต์ ให้ (แบบเดียวกับของ ChatGPT) และใส่ข้อมูลให้ AI ช่วยคิดข้อความให้ตามเทมเพลตต่าง ๆ ซึ่งมีให้เลือกแบบตาลาย

จุดเด่นของ Copy.ai คือใช้งานง่าย และมีเทมเพลตที่หลากหลาย จึงตอบโจทย์การใช้งานแบบรอบด้าน 

ส่วนข้อเสียของ Copy.ai คือ โหลดคอนเทนต์นานมาก (หรือราว 30 วินาที) จึงอาจทำให้หงุดหงิดขณะใช้งานได้

นอกจากนี้ Copy.ai ไม่เหมาะสำหรับ การทำคอนเทนต์ ให้ความรู้ เพราะข้อมูลที่ดึงมาใช้บางครั้งไม่ถูกต้อง

โปรแกรม Ai ช่วยเขียนบทความ Anyword

2. Anyword

Anyword เป็นแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ที่แนะนำให้ลองใช้มาก ๆ เพราะมีเทมเพลตให้เลือกใช้หลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่โพสต์ทางโซเชียลมีเดีย แอดโฆษณา ข้อมูลสินค้า อีเมล ไปจนถึงรายละเอียดของวิดีโอ

ยังไม่พอ ผู้ใช้ยังเลือกได้ว่าจะให้ Anyword คิดคอนเทนต์กี่คอนเทนต์ต่อ 1 บรีฟ และที่สำคัญ Anyword AI ช่วยเขียนบทความ ภาษาไทยได้ และเป็นภาษาไทยที่อ่านรู้เรื่อง เข้าใจง่าย (แต่ยังไม่สมบูรณ์ 100% นะ)

Anyword ยังมีฟีเจอร์ Blog Wizard ซึ่งตอบโจทย์นักเขียนคอนเทนต์ขนาดยาวมาก ๆ เพราะเพียงใส่เนื้อหาที่อยากพูดถึงแบบย่อ ๆ ตัวโปรแกรมก็ช่วยคิดให้แบบเสร็จสรรพ ทั้งชื่อเรื่อง บทนำ และเค้าโครงของคอนเทนต์ ทำให้การเขียนคอนเทนต์ง่ายขึ้นและใช้เวลาน้อยลงมาก

ส่วนข้อเสียของ Anyword คือ Blog Wizard ยังไม่รองรับภาษาไทย จึงอาจจะไม่ตอบโจทย์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ภาษาไทยสักเท่าไร

นอกจากนั้น Anyword ยังจำเป็นต้องจ่ายเงิน หากต้องการใช้งานแบบเต็มรูปแบบ แต่ระยะเวลาทดลองใช้ก็สั้นเพียง 7 วัน แตกต่างจาก ChatGPT หรือ Copy.ai ที่ใช้งานแบบฟรีได้ในระยะยาว

Rytr ai writer

3. Rytr

Rytr เป็นแอปฟรี เพียงลงทะเบียนด้วยอีเมลก็สามารถใช้งานแบบเต็มฟังก์ชันได้

Rytr มีเทมเพลตข้อความหลากหลาย ตั้งแต่ไอเดียบทความ ไปจนถึงคำอธิบายใต้วีดีโอ แถมวิธีใช้งานยังเรียบง่าย เพียงเลือกเทมเพลต ใส่ไอเดียของสิ่งที่ต้องการให้เขียน เลือกจำนวนคอนเทนต์ที่อยากให้ AI ทำคอนเทนต์ให้ เลือกระดับความคิดความสร้างสรรค์ จากนั้นกด “Ryte for Me” เป็นอันเสร็จสิ้น

ถ้ายังไม่จุใจ Ryte ก็มีช่องแชทแบบเดียวกับ Copy.ai หรือ ChatGPT ให้ใช้งาน และยังมีฟังก์ชัน Image ซึ่งพอใส่ข้อความเข้าไป (เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น) แล้วกด “Draw for Me” AI ก็จะสร้างภาพขึ้นมาตามนั้น 

แต่เพราะ Rytr ไม่ใช่ AI สำหรับสร้างภาพโดยตรง ภาพที่สร้างให้เลยไม่สวยงาม ไม่ตรงบรีฟ แถมบางทียังเหมือนดึงภาพจากในเน็ตมาให้ ไม่ใช่การสร้างภาพใหม่จากฐานข้อมูลของตัวโปรแกรม

นอกจากนี้ ถึงจะใช้งานฟรีได้เต็มฟังก์ชัน แต่ Rytr ก็ต้องเสียเงินเหมือนกัน เพื่อปลดล็อกโควต้าสร้างข้อความหรือภาพแบบไม่จำกัด 

ส่วนเรื่องภาษานั้น Rytr รองรับบรีฟภาษาไทย และยังเขียนภาษาไทยได้ แต่ภาษาไทยจะแข็ง ๆ หน่อย ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ แถมยังมีส่วนที่สะกดผิด หรือเขียนเป็นคำที่อ่านไม่รู้เรื่องด้วย

ai ช่วยเขียนคอนเทนต์ Copysmith

4. Copysmith

Copysmith เป็นแอปที่ฟังก์ชันไม่เยอะมาก และมีเทมเพลตคอนเทนต์ไม่หลากหลาย แต่โดยรวมคือใช้งานง่าย และเอาเข้าจริงแค่นี้ก็อาจเพียงพอกับหลาย ๆ คนแล้ว

สำหรับฟังก์ชันที่เราอยากแนะนำคือ Editor ซึ่งพอกดเข้ามาแล้ว เราต้องเลือกเทมเพลตของคอนเทนต์ก่อน จากนั้นใส่รายละเอียดของสิ่งที่อยากให้ AI เขียนบทความ ให้ลงในช่องสำหรับใส่รายละเอียด จากนั้นกด “Generate” ให้ โปรแกรม AI คิดคอนเทนต์ออกมา 

ในแง่ของการใช้งาน ต้องบอกว่า Editor ของ Copysmith ไม่ต่างจากหน้าสร้างคอนเทนต์ของหลาย ๆ แอป แต่ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร คือ Copysmith รองรับภาษาไทย และสร้างคอนเทนต์ภาษาไทยได้

ยิ่งกว่านั้น เราสามารถใส่บรีฟหรือข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ แล้วรอรับข้อมูลการแปลเรียบเรียงออกมาเป็นภาษาไทยได้ 

สำหรับข้อเสียของ Copysmith คือ AI มีช่วงทดลองใช้งานที่สั้นเหมือนกับ Anyword จึงไม่เหมาะกับคนที่อยากใช้งานฟรีเป็นครั้งคราว

ยิ่งกว่านั้น Copysmith โหลดช้า กิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครใช้งานหรือเข้าใจงาน จึงเสียเวลามากกว่าแอปอื่น ๆ เล็กน้อย

AI writer Sudowrite

5. Sudowrite

เทียบกับ โปรแกรม AI ช่วยเขียนบทความ ตัวอื่น ๆ Sudowrite น่าจะเป็นแอปที่แหวกแนวที่สุด และสำหรับมือใหม่หรือคนที่ไม่เคยใช้อาจต้องใช้เวลาปรับตัวสักเล็กน้อย

Sudowrite เป็นแอปช่วยเขียนนิยาย เพียงเขียนประโยคสั้น ๆ จากนั้นกด “Describe” โปรแกรมAI จะคิดข้อความต่อเป็นเรื่องเป็นราว ยิ่งกว่านั้น คือถ้าคิดว่าข้อความสั้นเกินไป เรายังสามารถสั่งให้ AI ช่วยปรับข้อความให้ยาวขึ้นได้อีกด้วย 

และถ้าไม่พอใจข้อความที่เขียน ก็ยังสามารถเลือกใช้แอป Rewrite ข้อความให้จริงจังขึ้น ลงรายละเอียดมากขึ้น หรืออ่านแล้วเห็นภาพมากขึ้นได้

ส่วนนักเขียนที่หัวตัน-คิดงานไม่ออก Sudowrite ก็มีฟีเจอร์ Braninstorm ที่เพียงใส่ข้อมูลคร่าว ๆ ลงไป แอปก็คิดไอเดียเพื่อนำไปต่อยอดได้อีกมากมาย

และที่ไม่เหมือนใคร คือฟีเจอร์ Braninstorm แบ่งเป็นหลายหมวด ทั้งตัวละคร ชื่อ บทสนทนา โลก สถานที่ สิ่งของ และคำอธิบาย

โปรแกรม ai Sudowrite

ส่วนในแง่ของข้อเสียนั้น ข้อแรกเลย คือหน้าแอป Sudowrite มีดีไซน์ไม่เหมือนแอปอื่น ๆ แต่เป็นหน้ากระดาษที่เราต้องพิมพ์ข้อความเข้าไปก่อน จากนั้นค่อยเลือกคำสั่งให้ AI เพิ่ม ลด หรือแก้ไขข้อความ ดังนั้น สำหรับคนที่ไม่เคยใช้จะต้องปรับตัวนิดนึง (แต่ใช้เวลานไม่นานหรอก)

ส่วนข้อถัดมา คือโปรแกรมนี้ไม่รองรับภาษาไทย ดังนั้นถ้าคุณเป็นนักเขียนภาษาไทย โปรแกรมนี้จะตอบโจทย์แค่ในส่วนของการคิดไอเดียเท่านั้น

และข้อท้ายสุด คือ Sudowrite ไม่ใช่ฟรีนะจ๊ะ และโควต้าใช้งานแบบไม่เสียตังค์ จะคิดจากคำที่เราพิมพ์ลงไปในแอป ซึ่งมีลิมิตอยู่ที่ 4,000 คำ 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงพอเห็นแล้วว่า นอกจาก ChatGPT แล้ว ปัจจุบันยังมี AI writer ช่วยเขียนให้เลือกใช้มากมาย โดยมีทั้งตัวที่ต้องเสียเงินเพื่อใช้งานในระยะยาว และตัวที่ใช้งานฟรี (แม้จะไม่เต็มฟังก์ชัน) ในระยะยาวได้

และถ้าไม่นับ 5 ตัวที่ยกมาพูดถึงข้างบน AI ช่วยเขียนคอนเทนต์ ก็ยังมีอีกหลายตัว เช่น ContentShake, AI Writing Assistant, Jasper และ Wordtune

บทความอื่น ๆ

ถ้าอยากทำ SEO ให้ปัง เราต้องรู้จัก DA ย่อมาจาก Domain A […]

Ahrefs โปรแกรมทำ SEO สุดฮิต มี AI เขียนบทความ SEO ได้ด้วย
รู้รึเปล่า? การกิน ป๊อปคอร์น ทำให้เราจำชื่อแบรนด์ใหม่ ๆ ได้ยากขึ้น
การตลาดออนไลน์ Digital marketing Thetepco

หากสนใจ
บริการของเรา

การตลาดออนไลน์ เวลาทำการ

เวลาทำการ

จันทร์ – ศุกร์

10:00 น. – 19:00 น.

Copyright © 2023 THE TEPCO Co.,Ltd. All Rights Reserved.

Scroll to Top

ให้ เดอะเท็ปโค่ พาคุณไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจ

เราจะทำการตอบกลับให้เร็วที่สุด