Headless Commerce แนวทางใหม่แห่งโลก E-commerce

Headless Commerce

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Headless Commerce (หรือ Headless E-commerce) เป็นคำใหม่ในวงการ E-commerce ที่บ้านเราเริ่มพูดถึงกันบ้างแล้ว

คำ ๆ นี้ หมายถึง การแยกการทำงานระหว่าง หน้าบ้านเว็บไซต์และหลังบ้านเว็บไซต์ หรือ Front-end และ Back-end ของแอปพลิเคชัน E-commerce ออกจากกัน โดยการทำงานแบบนี้ จะช่วยให้แบรนด์มีอิสระมากขึ้นในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม รวมถึงสามารถจัดการข้อมูลการตลาดจากหลายช่องทางได้ง่ายดายมากขึ้น

สำหรับแพลตฟอร์ม E-commerce ที่ทำงานแบบนี้ ก็อย่างเช่นเว็บไซต์ของแบรนด์ Nike, Lancome หรือ Amazon

headless commerce

ดีกว่า E-commerce อย่างไร

ต้องเข้าใจก่อนว่า แอปพลิเคชัน E-commerce แบบดั้งเดิม จะมีหน้าบ้านเว็บไซต์และหลังบ้านเว็บไซต์ ที่เชื่อมถึงกัน หรือก็คือ Front-end หรือทุกส่วนที่ผู้ใช้งานเห็น ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับ Back-end หรือหลังบ้านของแอปพลิเคชันเท่านั้น ส่งผลให้มีความยืดหยุ่นในการพัฒนาหรือดัดแปลงที่ต่ำ

การทำงานแยกกันของ Front-end และ Back-end ช่วยให้แอปพลิเคชันมีความยืดหยุ่นสูงกว่าเดิมมาก และยังมีข้อดีหลายข้อ ดังนี้

  • แบรนด์ปรับปรุง-แก้ไขแอปได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบต่อ Back-end ซึ่งเป็นผลดีต่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค รวมถึงการกระตุ้นยอดขายและดึงดูดลีดด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ บนแอปพลิเคชัน
  • มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงานรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Application Programming Interface หรือ APIs ซึ่งช่วยรับประกันว่าประสบการณ์ที่ผู้ใช้งานได้รับจากช่องทางจากต่าง ๆ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • หน้าแอปโหลดไวขึ้น ทั้งบนเดสก์ท็อปและสมาร์ทโฟน เนื่องแอปพลิเคชันแบบนี้ ไม่หนักเท่า แอปพลิเคชัน E-commerce แบบดั้งเดิม และความเร็วในการโหลดหน้าแอป ยังช่วยสร้างความประทับใจต่อแบรนด์ให้กับผู้บริโภคด้วย
  • ประหยัดแรงงานและเวลาของฝ่าย IT เพราะองค์ประกอบส่วน Front-end แก้ไขได้มากยาก ซ้ำยังทำได้อย่างรวดเร็วโดยฝ่ายเว็บไซต์ ดังนั้น ฝ่าย IT ไม่ต้องเสียแรงหรือเวลาไปกับงานส่วนนี้
  • รับมือกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วย Front-end ที่ใช้เวลาไม่นานในการปรับปรุงหรือแก้ไข
  • ความผิดในการทำงานต่ำ เนื่องจากระบบต่าง ๆ ของแอปพลิเคชันถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมือนกัน
Headless E-commerce

Headless E-commerce ดีต่อผู้บริโภคอย่างไร?

ข้อดีต่อผู้บริโภค คือประสบการณ์หลาย ๆ ด้านซึ่งแอปพลิเคชัน E-commerce แบบดั้งเดิม ทั้งในแง่ของดีไซน์ ความรวดเร็ว หรือการใช้งานที่ปราศจากข้อติดขัดไม่ว่าผ่านทางเดสก์ท็อปและสมาร์ทโฟน

เหมาะกับทุกแอปพลิเคชัน E-commerce หรือไม่

จากข้อมูลข้างต้น ก็พอเดาได้ว่า “ไม่”

แม้แอปพลิเคชันแบบนี้ จะมีข้อดีหลายข้อ แต่ก็แลกมาด้วยเงินลงทุน เวลา และแรงงานไม่น้อยในการทำ

ดังนั้น ถ้าโครงสร้างแอป E-commerce แบบดั้งเดิมยังคงตอบโจทย์แบรนด์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างแอปใหม่

Headless

แล้ว Headless เหมาะกับใคร?” 

คำตอบของคำถามนี้ คือแบรนด์ ที่ต้องการสร้างประสบการณ์สุดพิเศษหรือไม่เหมือนใครให้กับผู้บริโภค รวมถึงแบรนด์ที่กำลังประสบปัญหาต่อไปนี้

  • แอปพลิเคชันที่มีอยู่อัปเดตเครื่องมือใหม่ ๆ เข้าไปได้ยาก
  • สู้คู่แข่งในตลาดเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากการแก้ไข Front-end ใช้เวลานาน หรือไม่สามารถจบได้ในทันที
  • แอปพลิเคชันช้า และอยากทำให้โหลดเร็วกว่าเดิม
  • ไม่สามารถแก้ไขธีมหรือเทมเพลตของแอปพลิเคชัน ให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้
  • ยังไม่มีแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน หรือแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนไม่เป็นมิตรกับผู้ใช่อย่างที่ควรจะเป็น

สรุป

Headless เป็นรูปแบบการทำงานของแพลตฟอร์ม ที่เอื้อให้แบรนด์สร้างประสบการณ์ที่เหนือกว่าเดิมให้กับผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกแบรนด์ ดังนั้น การพัฒนาเว็บ-แพลตฟอร์ม E-commerce จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมหรือความจำเป็น

e-commerce
บทความอื่น ๆ

ถ้าอยากทำ SEO ให้ปัง เราต้องรู้จัก DA ย่อมาจาก Domain A […]

Ahrefs โปรแกรมทำ SEO สุดฮิต มี AI เขียนบทความ SEO ได้ด้วย
รู้รึเปล่า? การกิน ป๊อปคอร์น ทำให้เราจำชื่อแบรนด์ใหม่ ๆ ได้ยากขึ้น
การตลาดออนไลน์ Digital marketing Thetepco

หากสนใจ
บริการของเรา

การตลาดออนไลน์ เวลาทำการ

เวลาทำการ

จันทร์ – ศุกร์

10:00 น. – 19:00 น.

Copyright © 2023 THE TEPCO Co.,Ltd. All Rights Reserved.

Scroll to Top

ให้ เดอะเท็ปโค่ พาคุณไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจ

เราจะทำการตอบกลับให้เร็วที่สุด