Headless Commerce แนวทางใหม่แห่งโลก E-commerce

Headless Commerce

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Headless Commerce (หรือ Headless E-commerce) เป็นคำใหม่ในวงการ E-commerce ที่บ้านเราเริ่มพูดถึงกันบ้างแล้ว

คำ ๆ นี้ หมายถึง การแยกการทำงานระหว่าง หน้าบ้านเว็บไซต์และหลังบ้านเว็บไซต์ หรือ Front-end และ Back-end ของแอปพลิเคชัน E-commerce ออกจากกัน โดยการทำงานแบบนี้ จะช่วยให้แบรนด์มีอิสระมากขึ้นในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม รวมถึงสามารถจัดการข้อมูลการตลาดจากหลายช่องทางได้ง่ายดายมากขึ้น

สำหรับแพลตฟอร์ม E-commerce ที่ทำงานแบบนี้ ก็อย่างเช่นเว็บไซต์ของแบรนด์ Nike, Lancome หรือ Amazon

headless commerce

Headless Commerce ดีกว่าอย่างไร

ต้องเข้าใจก่อนว่า แอปพลิเคชัน E-commerce แบบดั้งเดิม จะมีหน้าบ้านเว็บไซต์และหลังบ้านเว็บไซต์ ที่เชื่อมถึงกัน หรือก็คือ Front-end หรือทุกส่วนที่ผู้ใช้งานเห็น ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับ Back-end หรือหลังบ้านของแอปพลิเคชันเท่านั้น ส่งผลให้มีความยืดหยุ่นในการพัฒนาหรือดัดแปลงที่ต่ำ

การทำงานแยกกันของ Front-end และ Back-end ช่วยให้แอปพลิเคชันมีความยืดหยุ่นสูงกว่าเดิมมาก และยังมีข้อดีหลายข้อ ดังนี้

  • แบรนด์ปรับปรุง-แก้ไขแอปได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบต่อ Back-end ซึ่งเป็นผลดีต่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภค รวมถึงการกระตุ้นยอดขายและดึงดูดลีดด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ บนแอปพลิเคชัน
  • มีเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงานรูปแบบต่าง ๆ อาทิ Application Programming Interface หรือ APIs ซึ่งช่วยรับประกันว่าประสบการณ์ที่ผู้ใช้งานได้รับจากช่องทางจากต่าง ๆ จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • หน้าแอปโหลดไวขึ้น ทั้งบนเดสก์ท็อปและสมาร์ทโฟน เนื่องแอปพลิเคชันแบบนี้ ไม่หนักเท่า แอปพลิเคชัน E-commerce แบบดั้งเดิม และความเร็วในการโหลดหน้าแอป ยังช่วยสร้างความประทับใจต่อแบรนด์ให้กับผู้บริโภคด้วย
  • ประหยัดแรงงานและเวลาของฝ่าย IT เพราะองค์ประกอบส่วน Front-end แก้ไขได้มากยาก ซ้ำยังทำได้อย่างรวดเร็วโดยฝ่ายเว็บไซต์ ดังนั้น ฝ่าย IT ไม่ต้องเสียแรงหรือเวลาไปกับงานส่วนนี้
  • รับมือกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วย Front-end ที่ใช้เวลาไม่นานในการปรับปรุงหรือแก้ไข
  • ความผิดในการทำงานต่ำ เนื่องจากระบบต่าง ๆ ของแอปพลิเคชันถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมือนกัน
Headless E-commerce

Headless E-commerce ดีต่อผู้บริโภคอย่างไร?

ข้อดีต่อผู้บริโภค คือประสบการณ์หลาย ๆ ด้านซึ่งแอปพลิเคชัน E-commerce แบบดั้งเดิม ทั้งในแง่ของดีไซน์ ความรวดเร็ว หรือการใช้งานที่ปราศจากข้อติดขัดไม่ว่าผ่านทางเดสก์ท็อปและสมาร์ทโฟน

เหมาะกับทุกแอปพลิเคชัน E-commerce หรือไม่

จากข้อมูลข้างต้น ก็พอเดาได้ว่า “ไม่”

แม้แอปพลิเคชันแบบนี้ จะมีข้อดีหลายข้อ แต่ก็แลกมาด้วยเงินลงทุน เวลา และแรงงานไม่น้อยในการทำ

ดังนั้น ถ้าโครงสร้างแอป E-commerce แบบดั้งเดิมยังคงตอบโจทย์แบรนด์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างแอปใหม่

Headless

แล้ว Headless E-Commerce เหมาะกับใคร?” 

คำตอบของคำถามนี้ คือแบรนด์ ที่ต้องการสร้างประสบการณ์สุดพิเศษหรือไม่เหมือนใครให้กับผู้บริโภค รวมถึงแบรนด์ที่กำลังประสบปัญหาต่อไปนี้

  • แอปพลิเคชันที่มีอยู่อัปเดตเครื่องมือใหม่ ๆ เข้าไปได้ยาก
  • สู้คู่แข่งในตลาดเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากการแก้ไข Front-end ใช้เวลานาน หรือไม่สามารถจบได้ในทันที
  • แอปพลิเคชันช้า และอยากทำให้โหลดเร็วกว่าเดิม
  • ไม่สามารถแก้ไขธีมหรือเทมเพลตของแอปพลิเคชัน ให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้
  • ยังไม่มีแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน หรือแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนไม่เป็นมิตรกับผู้ใช่อย่างที่ควรจะเป็น

สรุป

Headless E-Commerce เป็นรูปแบบการทำงานของแพลตฟอร์ม ที่เอื้อให้แบรนด์สร้างประสบการณ์ที่เหนือกว่าเดิมให้กับผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มแบบนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกแบรนด์ ดังนั้น การพัฒนาเว็บ-แพลตฟอร์ม E-commerce จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมหรือความจำเป็น

e-commerce
บทความอื่น ๆ
Tagline (แท็กไลน์) คือ ใช้อธิบายถึงแบรนด์ บอกว่ามีลักษณะยังไง
DA ย่อมาจาก Domain Authority เป็น ตัวเลขที่บอกว่าเว็บเรามี ค่าความน่าเชื่อถือของโดเมน มากน้อยแค่ไหน
Ahrefs โปรแกรมทำ SEO สุดฮิต มี AI เขียนบทความ SEO ได้ด้วย
การตลาดออนไลน์ Digital marketing Thetepco

หากสนใจ
บริการของเรา

การตลาดออนไลน์ เวลาทำการ

เวลาทำการ

จันทร์ – ศุกร์

10:00 น. – 19:00 น.

Copyright © 2023 THE TEPCO Co.,Ltd. All Rights Reserved.

Scroll to Top

ให้ เดอะเท็ปโค่ พาคุณไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจ

เราจะทำการตอบกลับให้เร็วที่สุด