Emotional Design สื่ออารมณ์ กระตุ้นความรู้สึก

Emotional Design

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Emotional Design หรือ การออกแบบทางอารมณ์ เป็น หลักการออกแบบสินค้าหรือประสบการณ์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกแง่บวก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค

โดยในชีวิตประจำวันของเรา หลายสิ่งหลายอย่างต่างถูกดีไซน์ภายใต้คอนเซ็ปต์นี้ ทั้งป้ายโฆษณา ภาพกราฟิกบนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือแม้แต่แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ

การออกแบบทางอารมณ์

ระดับของ Emotional Design

ผู้ใช้คำว่า “Emotional Design” เป็นคนแรก คือ Don Norman อาจารย์ด้านการออกแบบชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นหาว่า “User Experience

โดย Norman ได้แบ่งการออกแบบเชิงอารมณ์เป็น 3 ระดับ คือ Visceral Design, Behavioral Design และ Reflective Design ซึ่งแต่ละระดับ มีความหมายและรายละเอียดดังนี้

1. Visceral Design

หมายถึง การออกแบบตามปฎิกิริยาจากภายในใจของผู้ใช้หรือความประทับใจแรกที่มีต่อการออกแบบ เช่น สีโลโก้, User interface ที่ไม่กระจัดกระจาย ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อสร้างความรู้สึกแง่บวกให้กับผู้บริโภค ผ่านองค์ประกอบอย่างสี เสียง รูปทรง รูปร่าง หรือความสวยงาม

2. Behavioral Design

หมายถึง ผู้ใช้จะประเมินโดยไม่รู้ตัว ว่าการออกแบบของคุณช่วยให้พวกเขา บรรลุเป้าหมายนั้นโดยง่าย พวกเขารู้สึกพึงพอใจ โดยพวกเขาพยายามแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สร้างความรู้สึกแง่บวกให้ผู้บริโภค ผ่านการออกแบบของสินค้า โดยคำนึง User Experience ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานหรือเป้าหมายของผู้บริโภค

3. Reflective Design

หมายถึง หลังจากที่พวกเขาพบการออกแบบของคุณ ผู้ใช้จะพิจารณาประสิทธิภาพและประโยชน์จากการใช้งานการออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี รวมถึงความคุ้มค้า สร้างความรู้สึกแง่บวกให้ผู้บริโภค พวกเขาจะใช้ซ้ำ ผูกพันทางอารมณ์ และทำการบอกต่อเพื่อน ๆ ของเขา

สีกับการออกแบบทางอารมณ์

Emotional Design มีประโยชน์อย่างไร

การออกแบบทางอารมณ์ ทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกแง่บวกต่อแบรนด์ จดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น และมีแนวโน้มจะอยากซื้อ หรือแนะนำให้คนอื่นซื้อแบรนด์ที่ตัวเองประทับใจ แบบปากต่อปาก

นอกจากนี้ การออกแบบ User Experience โดยคำนึงถึงความรู้สึกแง่บวกจากประสิทธิภาพหรือประโยชน์ ยังช่วยขีดความสามารถในการแข่งขันของแบรนด์ กับคู่แข่งมากมายในตลาดด้วย

และแน่นอน สินค้าหรือประสบการณ์ ซึ่งถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้บริโภค ยังอาจช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคดีกว่าเดิมได้ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณออกแบบข้อความรณรงค์โดยใช้คำที่กระตุ้นความรู้สึกของผู้บริโภค ผู้บริโภคก็ย่อมมีแนวโน้มจะอยากทำตามมากขึ้น และถ้าข้อความรณรงค์นั้นเป็นเรื่องเมาไม่ขับ การตัดสินใจเมาไม่ขับ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคเอง รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ด้วย

หลักการออกแบบทางอารมณ์

หลักการออกแบบทางอารมณ์ คำแนะนำสู่ความสำเร็จ

เรามีคำแนะนำง่าย ๆ ซึ่งจะช่วยให้ การออกแบบทางอารมณ์ พาคุณเข้าใกล้ความสำเร็จได้มากกว่าเดิม 

1. เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค

ก่อนออกแบบอะไรก็ตาม คุณต้องเข้าใจก่อนว่าผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณ ลึก ๆ แล้วเขาต้องการอะไรกันแน่

ถ้าคุณจะออกแบบแพลตฟอร์มสำหรับการลงทุน คุณก็ต้องเข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังว่า ที่คนยอมเสียคนลงทุนนั้นเพราะอะไร แค่อยากได้เงินเพิ่มขึ้นเหรอ หรือว่ากำลังโหยหาความปลอดภัยในอนาคต ซึ่งคำตอบที่ได้จะส่งผลต่อดีไซน์ของแพลตฟอร์มที่คุณออกแบบ

2. ใช้องค์ประกอบให้เป็น

ถัดมา คุณต้องรู้จักใช้องค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกแง่บวกตามที่อยากให้เป็น โดยองค์ประกอบดังกล่าว ประกอบด้วย

  • ภาพกราฟิก
  • ภาพสามมิติ
  • ภาพเคลื่อนไหว
  • สี คู่สี
  • มาสคอต
  • ฟอนต์อักษร
  • คอนเทนต์
  • คาแร็คเตอร์ของแบรนด์

3. เรียบและสม่ำเสมอ

หลักการออกแบบ ทางอารมณ์ซึ่งมีประสิทธิภาพ ควรเรียบง่ายหรือไม่ยากต่อการสร้างความรู้สึกแง่บวก นอกจากนี้ คุณยังต้องรักษาความสมดุลและสม่ำเสมอของดีไซน์ เพราะทั้งสองจะช่วยทำให้ผู้บริโภคเชื่อใจและไว้ใจแบรนด์ของคุณ ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคที่เหนียวแน่น

บทความอื่น ๆ
DA ย่อมาจาก Domain Authority เป็น ตัวเลขที่บอกว่าเว็บเรามี ค่าความน่าเชื่อถือของโดเมน มากน้อยแค่ไหน
Ahrefs โปรแกรมทำ SEO สุดฮิต มี AI เขียนบทความ SEO ได้ด้วย
รู้รึเปล่า? การกิน ป๊อปคอร์น ทำให้เราจำชื่อแบรนด์ใหม่ ๆ ได้ยากขึ้น
การตลาดออนไลน์ Digital marketing Thetepco

หากสนใจ
บริการของเรา

การตลาดออนไลน์ เวลาทำการ

เวลาทำการ

จันทร์ – ศุกร์

10:00 น. – 19:00 น.

Copyright © 2023 THE TEPCO Co.,Ltd. All Rights Reserved.

Scroll to Top

ให้ เดอะเท็ปโค่ พาคุณไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจ

เราจะทำการตอบกลับให้เร็วที่สุด