เสียงเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่แบรนด์สามารถใช้ทำการตลาดได้ โดย การทำการตลาดด้วยเสียง สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ Audio Marketing และ Music Marketing โดยทั้ง 2 แบบนั้น แม้โดยรวมจะคล้ายกัน แต่ก็มีราย-ละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าคุณอยากรู้ว่าเป็นยังไง คุณสามารถอ่านได้จากบทความนี้
Audio Marketing VS Music Marketing ความเหมือนและความแตกต่าง
ก่อนจะพูดถึงส่วนที่เหมือนและแตกต่างกันของ Audio Marketing และ Music Marketing เรามาทำความเข้าใจความหมายของทั้งสองกันก่อนดีกว่า!
Audio Marketing
Audio Marketing คือ การโปรโมตแบรนด์ สินค้า บริการ โดยใช้เสียงเป็นเครื่องมือ ซึ่งสามารถหลายแบบ เช่น
- Podcast
- Live Streaming Audio เช่น Clubhouse
- โฆษณาทางวิทยุ หรือทางแอปอย่าง Spotifym, Joox หรือ Apple
Music Marketing
Music Marketing คือ กลยุทธ์การตลาด ที่มีการใช้เสียงเพลงหรือดนตรี เพื่อโปรโมตแบรนด์ สินค้า หรือบริการ หรือทำให้สิ่งเหล่านั้น โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด จนโน้มน้าวให้ผู้บริโภคอยากจดจำหรือซื้อสิ่งที่โปรโมตมากยิ่งขึ้น
สำหรับ ตัวอย่างการทำ Music Marketing ที่พูดแล้วทุกคนน่าจะเห็นภาพกัน ก็คือการใช้ Jingle หรือเพลงโฆษณา เพื่อโปรโมตหรือทำให้คนจดจำแบรนด์ได้
ตัวอย่าง Jingle ที่เรา ๆ คุ้นเคยกัน ก็อย่างเช่น
- ตือ ดื๊อ ดือออ ตือ ดื๊อ ดือออ [รถไอศกรีมวอลล์]
- _____ 5 บาท 125 มิลลิลิตร ปริมาณคับกล่องเต็มที่ [แลคตาซอย]
- ใครๆ ก็ชอบ_____ คึกคักคึกคักกับปักกิ่ง หวานหวานมันมัน [ปักกิ่ง]
- ปู ปู ปู ปู _____ รูปทรงกำลังพอดี อร่อยได้ทุกที่ กรอบดีถึงใจ [ปูไทย]
- กินอะไร กินอะไร กินอะไร ไปกิน ___ [MK]
- ไม่ว่าเวลาไหน สะดวกอร่อยได้ทุกที่ [ยูโร]
และนอกจากการประพันธ์ดนตรีหรือเพลง เพื่อใช้กับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งหรือโฆษณาแล้ว การเลือกเปิดเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศในร้านค้าหรือร้านอาหาร ยังเป็นการทำ Music Marketing เช่นกัน และนี้คือ ตัวอย่างเพลงโฆษณาติดหู ที่ใครได้ยินก็ร้องอ๋อ อย่างแน่นอน
ที่มา : Ad Addict
โดยทั้งสองรูปแบบมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางเสียง เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรูปแบบก็มีความเหมือน และความแตกต่างที่สำคัญบางประการ ดังนี้
ความเหมือน
- เป็นการใช้เสียงเป็นสื่อกลางในการส่งสารไปยังผู้บริโภค
- สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวาง
- สามารถสร้างความจดจำและสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ได้
ความแตกต่าง
Audio Marketing | Music Marketing | |
เนื้อหา | เน้นไปที่ข้อมูลและสาระสำคัญ | เน้นไปที่อารมณ์และความรู้สึก |
รูปแบบ | อาจเป็นเสียงพูด เสียงประกอบ หรือเสียงเพลง | เน้นไปที่เสียงเพลง |
เป้าหมาย | เน้นไปที่การเผยแพร่ข้อมูลและสร้างการรับรู้ | เน้นไปที่การสร้างอารมณ์ร่วมและกระตุ้นความรู้สึก |
ทำการตลาดด้วยเสียง ดีอย่างไร?
หลังเข้าใจแล้วว่า Audio Marketing และ Music Marketing ที่จะพูดถึงต่อไป ก็คือดีของการทำการตลาดด้วยเสียง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
1. เข้าถึงคนจำนวนมากได้
การตลาดด้วยเสียง สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ เพราะคนจำนวนไม่น้อย ชอบฟังเพลงหรือพอดแคสต์
ยิ่งกว่านั้น เสียงเผยแพร่ไปยังผู้บริโภคได้ทุกที่ ทั้งบนรถไฟฟ้า ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือระหว่างฟังเพลงจากสตรีมมิง จึงมีประสิทธิภาพสูงในการเข้าถึงผู้คน
2. มีพลังกระตุ้นอารมณ์-ความรู้สึก
เสียงมีระดับสูง-ต่ำ แถมสามารถเลือกสรรคำหรือข้อความมาใช้ได้อย่างหลากหลาย การทำการตลาดด้วยเสียง จึงไม่ได้เป็นเพียงการบอกเล่าข้อมูลแบบแห้ง ๆ แต่เป็นการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคในระดับของอารมณ์หรือจิตวิทยา ซึ่งมีพลังในการโน้มน้าวใจเหนือกว่าการบอกเล่าแห้ง ๆ อย่างเห็นได้ชัด
3. ช่วยดึงดูดผู้คนและสร้างรายได้
ถ้าประสบความสำเร็จ Audio Marketing หรือ Music Marketing จะทำให้คนรู้จักแบรนด์ สินค้า หรือบริการมากขึ้น มีคนคลิกเข้าเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียมากกว่าเดิม และที่สำคัญ คือมียอดขายจากช่องทางต่าง ๆ มากขึ้นด้วย
ทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จ ต้องรู้อะไรบ้าง
เสียงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการทำการตลาด โดยตัวอย่างของการตลาดด้วยเสียงที่ประสบความสำเร็จ ก็อย่างเช่น เสียง Jingle รถไอติมวอลล์, เสียงเพลงโฆษณาปูไทยและแลคตาซอย รวมถึงประโยคอมตะ “อยากเป็นหมอ” ของเปปทีน ซึ่งพอได้ยินปุ๊บ ก็นึกออกทันทีว่าเป็นแบรนด์อะไร
แต่การจะไปถึงจุดที่ได้ยินปุ๊บเก็ทปั๊บเลยเหมือนแบรนด์ที่กล่าวถึงไม่ใช่เรื่องง่าย
และถ้าอยากเป็นแบบนั้นบ้าง ก็ต้องมีความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้ทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ตัวตนของแบรนด์ เช่น คาแร็คเตอร์ของแบรนด์ จุดแข่ง-จุดอ่อนของแบรนด์ ซึ่งสัมพันธ์กับน้ำเสียง หรือแนวทางดนตรี สำหรับทำโฆษณา
- เป้าหมายของการทำการตลาด เช่น เพื่อสร้างแบรนด์ ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก หรือดึงคนเข้าเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย
- กลุ่มลูกค้า หรือคนที่คาดว่าจะสนใจและจดจำ “เสียง” ของแบรนด์
- รูปแบบของคอนเทนต์เสียงที่จะใช้ เช่น พอดแคสต์ โฆษณา หรือเพลง Jingle
- ช่องทางสำหรับทำการตลาด เช่น วิทยุ สตรีมมิง หรือรถกระจายเสียง
โดยสรุป Audio Marketing ก็คือการทำการตลาดด้วยเสียงแบบรวม ๆ ส่วน Music Marketing คือการทำการตลาดด้วยเสียง โดยเจาะจงไปที่การใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางนั่นเอง
และถึง “เสียง” จะไม่ใช่องค์ประกอบที่คนนิยมใช้ สร้างแบรนด์ แต่ “เสียง” ก็สามารถเข้าถึงทุกคนได้ แถมยังมีพลังกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งมีส่วนทำให้คนจดจำแบรนด์และอยากซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น