Karen’s Diner บริการเฮงซวย แต่ประสบความสำเร็จ เขาทำได้ยังไง ?

Karen’s Diner

เลือกอ่านตามหัวข้อ

หากถามถึงร้านอาหารที่บริการเฮงซวยที่สุดในโลก Karen’s Diner น่าจะเป็นชื่อหนึ่งที่โด่งดังระดับโลก

Karen’s Diner เป็นร้านอาหารสไตล์อเมริกันยุค 50s เสิร์ฟอาหารจำพวกแฮมเบอร์เกอร์-ไก่ทอด-ค็อกเทล และมีจุดขายเป็นพนักงานสุดหยาบคาย ตามชื่อของร้าน (Karen = หญิงผิวขาวมารยาททราม aka มนุษย์ป้า) ซึ่งพร้อมจะ ด่า ว่า ตะคอก หรือชูนิ้วกลางใส่ลูกค้าที่เข้ามานั่งในร้าน

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจมองว่าร้านอาหารนี้ไม่น่าไปรอด ซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริง เพราะปัจจุบัน ร้านKaren’s Diner มีจำนวนมากกว่า 10 สาขา ทั้งในประเทศแม่อย่างออสเตรเลีย และในประเทศอื่น ๆ อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนิวซีแลนด์ 

โดยคอนเซ็ปร้าน เกิดจากความต้องการของบริษัท Viral Ventures ที่ต้องการทำให้ย่าน Sydney CBD กลับมาครึกครื้นอีกครั้ง 

นอกจากนี้ แม้พนักงานของร้านจะหยาบคาย (ตามสโลแกน “Great Burgers & Very Rude Service”) แต่พวกเขาก็มีกฏชัดเจน คือจะไม่เหยียดเพศ-สีผิว-ความพิการ ไม่พูดโจมตีรูปร่าง และไม่แสดงพฤติกรรมคุกคามทางเพศ

Karen’s Diner

Karen’s Diner กับ Negative Marketing

ความสำเร็จของ Karen’s Diner ไม่ได้เกิดจากโชคหรือจังหวะ แต่เกิดจาก กลยุทธ์การตลาด ซึ่งเรียกว่า Negative Marketing หรือการกระตุ้นความรู้สึกแง่ลบของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดประโยชน์บางอย่างกับแบรนด์ โดยในกรณีของ Karen’s Diner เราอาจมองได้ว่าเป็นการกระตุ้นความโกรธ หงุดหงิด หรือไม่พอใจ เพื่อให้เกิดการพูดถึงแบบปากต่อปาก จนร้านอาหารเป็นที่รู้จัก และมีคนแวะเวียนไปเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ การ “เล่นตัวเอง” หรือพูดถึงตัวเองในแง่ลบ เพื่อสร้างความรู้สึกขบขันหรือประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้บริโภค ยังจัดเป็น Negative Marketing เช่นกัน และสำหรับ Karen’s Diner แท็กไลน์อย่าง “Great Burgers & Very Rude Service” ดูจะเป็นตัวอย่างซึ่งชัดเจนที่สุดของการเล่นตัวเอง

Karen’s Diner

รู้จัก Negative Marketing กันอีกสักนิด

นอกจากการมอบประสบการณ์แย่ ๆ และ “เล่นตัวเอง” แล้ว Negative Marketing สามารถทำได้อีกหลายแบบ เช่น 

  • ใช้ Headline แง่ลบทำการตลาด เช่น “อร่อยได้ไง ของปลอมแน่ ๆ !!” “กินหนึ่งชิ้น สิ้นอายุขัย”
  • โจมตีแบรนด์คู่แข่ง: หรือเปรียบเทียบสินค้าแบรนด์ตัวเองกับของคู่แข่ง เพื่อให้อีกฝ่ายด้อยกว่าหรือน่าสนใจน้อยลง
  • ออกตัวแรง: ในประเด็นที่หมิ่นเหม่จะโดนด่า-โดนสวน
  • สร้างความรู้สึกกลัว: เพื่อทำให้ผู้บริโภคทำตามที่แบรนด์ต้อง ในทางเทคนิคเรียกกลยุทธ์นี้ว่า Fear-based Marketing
Karen’s Diner

Negative Marketing มีข้อดีก็มีข้อเสีย

กลยุทธ์ Negative Marketing อย่างที่ Karen Diner หรือหลาย ๆ แบรนด์ทำ มีข้อดีคือทำให้ผู้บริโภคสนใจแบรนด์ เห็นข้อดี-ข้อเสียของสินค้าหรือบริการในกลุ่มเดียวกัน รวมทั้งทำให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

กลับกัน การทำ Negative Marketing ก็มีความเสี่ยงหลายข้อ ซึ่งฝ่ายการตลาดต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจทำ อาทิ

  • การเสียความรู้สึกของผู้บริโภค
  • ทัศนคติแง่ลบของผู้บริโภคและการถูกโจมตีกลับ
  • ชื่อเสียงของแบรนด์ที่อาจแย่ลง
  • การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภคที่ยากขึ้น
  • ประเด็นทางกฏหมาย

Negative Marketing ไม่ใช่ของใหม่ และเอาเข้าจริงก็เป็นที่เรา ๆ เห็นกันอยู่ทุกวัน เพียงแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร

สำหรับแบรนด์ที่โดดเด่นในเรื่องนี้ ชนิดพูดถึงปุ๊บทุกคนร้องอ๋อคือ “น้ำพริกแคบหมูยายน้อย” ซึ่งมักเล่นมุกตลกแนว “เล่นตัวเอง” อยู่บ่อย ๆ จนเป็นไวรัล เช่น “ซื้อวันนี้ แถมสวดอภิธรรมฟรี 7 วัน” หรือ “ดีใจทุกครั้ง ที่เห็นลูกค้าฟันหัก” 

และเพราะมุกตลกของ “น้ำพริกแคบหมูยายน้อย” ทั้งเข้าใจง่ายและตลกจริง ๆ คนเลยชอบกันมาก ดูได้จากยอดคอมเมนต์ ยอดแชร์ และยอด Engagement ของหลาย ๆ โพสต์

อย่างไรก็ตาม Negative Marketing ของ “น้ำพริกแคบหมูยายน้อย” ไม่ใช่จะทำแล้วสำเร็จได้ง่าย ๆ เพราะต้องอาศัยทั้งความสม่ำเสมอ ความต่อเนื่อง ความสดใหม่ของมุก รวมถึงระยะเวลาที่มากพอให้แบรนด์เป็นที่รู้จักจากการทำการตลาดแบบนี้

บทความอื่น ๆ
Tagline (แท็กไลน์) คือ ใช้อธิบายถึงแบรนด์ บอกว่ามีลักษณะยังไง
DA ย่อมาจาก Domain Authority เป็น ตัวเลขที่บอกว่าเว็บเรามี ค่าความน่าเชื่อถือของโดเมน มากน้อยแค่ไหน
Ahrefs โปรแกรมทำ SEO สุดฮิต มี AI เขียนบทความ SEO ได้ด้วย
การตลาดออนไลน์ Digital marketing Thetepco

หากสนใจ
บริการของเรา

การตลาดออนไลน์ เวลาทำการ

เวลาทำการ

จันทร์ – ศุกร์

10:00 น. – 19:00 น.

Copyright © 2023 THE TEPCO Co.,Ltd. All Rights Reserved.

Scroll to Top

ให้ เดอะเท็ปโค่ พาคุณไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจ

เราจะทำการตอบกลับให้เร็วที่สุด